ประเพณีวัฒนธรรม

 

"หมากขุม"  กีฬาพื้นบ้านภาคใต้



วิดีโอ : https://youtu.be/xR15HBDoOLQ


     เนื่องจากในปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่สิ่งต่างๆ มากมาย ทำให้โลกก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว กีฬาพื้นบ้านบางอย่างหาเล่นและหาชมได้ยากขึ้นในปัจจุบัน และหนึ่งในนั้นก็คือ “หมากขุม” ซึ่งเมื่อพูดถึง หมากขุม หลายคนอาจจะยังไม่ทราบและไม่เคยเห็นว่ามันมีหน้าตาเป็นอย่างไร แล้วเล่นกันแบบไหน

ภาพโดย TheUjulala จาก Pixabay 

     หมากขุมนั้นไม่มีประวัติที่มาแน่ชัดว่าใครเป็นผู้คิดค้น หรือมีจุดกำเนิดมาจากจังหวัดอะไร แต่หมากขุมเป็นเหมือนของเล่นที่มาก่อนที่เกมคอมพิวเตอร์จะเกิดขึ้นเสียอีก ซึ่งของเล่นนี้ภาคใต้จะเรียกกันว่า “หมากขุม” “หมากหลุม” และ “หลุมเมือง” ซึ่งในชื่อนั้นจะอธิบายถึงลักษณะหรืออุปกรณ์ที่ใช้เล่น ก็คือมีทั้งหมากและหลุม


อุปกรณ์ในการเล่นหมากหลุมนั้น มีด้วยกันหลักๆ คือ 2 อย่าง


ภาพโดย InspiredImages จาก Pixabay 
  • วัสดุที่ใช้ในการใส่ลงไปในหลุม ที่เรียกว่า “ลูกหมาก” เช่น เม็ดมะขาม ลูกหวาด ลูกแก้ว ลูกหิน เม็ดยางพารา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุที่สามารถหาได้ตามธรรมชาติ ลูกหวาดหรือลูกสวาทจะมีลักษณะเป็นเม็ดสีเทาอมเขียว ขนาดเท่ากับหัวแม่มือ ซึ่งเป็นผลจากไม้เถาชนิดหนึ่ง
  • อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นหลุม ซึ่งนำมาต่อให้ติดกันเป็นแถว หรืออาจจะใช้ภาชนะที่เป็นหลุม ซึ่งภาพที่ผู้เขียนนำมาเสนอนั้นจะเป็นไม้ที่มีการแกะให้เป็นหลุมภายในเนื้อไม้

วิธีในการเล่นนั้น จะแบ่งเล่นด้วยกันเป็น 2 ฝ่าย ซึ่งจะมีฝ่ายละ 7 หลุมในการเล่น ซึ่งมีวิธีเล่นดังนี้

     1. เติมลูกหมากใส่ลงไปในหลุมฝ่ายละ 5 หลุม หลุมละ 5 ลูก แต่ถ้ามีหลุม 7 หลุมก็ให้ใส่ฝ่ายละ 7 หลุม หลุมละ 7 ลูก เพิ่งจะมีหลุมที่ว่างอยู่ 1 หลุมไว้สำหรับเก็บลูกหมาก ซึ่งเรียกกันว่า “หลุมหัวเมือง” ของทั้งสองฝ่าย (กติกาการเล่นจะมีการปรับเปลี่ยนไปตามปกรณ์ที่สามารถหาได้ ซึ่งหลุมส่วนใหญ่จะแบ่งออกให้เป็นเลขคี่)

     2. ซึ่งเริ่มแรกผู้เล่นจะต้องหาคนชนะในการเดินรอบแรก ซึ่งหยิบลูกหมากในหลุมทั้งหมด ในหลุมใดก็ได้ในฝ่ายของตนเอง แล้วใส่ไปในกลุ่มถัดไปเวียนไปทางด้านซ้ายมือ และจะต้องใส่ในหลุมหัวเมืองของตนเองด้วย ก็คือถ้ามีรวมทั้งหมด 7 หลุม และหลุมของตนเองอีกหนึ่งหลุม ก็จะนับเป็นทั้งหมด 8 หลุม การเดินจำเป็นจะต้องมีการใส่ลูกหมากลงในฝ่ายตรงข้ามเรียงไปตามลำดับ หลุมละ 1 ลูก ต่อไปเรื่อยๆ เมื่อลูกหมากตัวสุดท้ายหมดที่หลุมไหน ก็ทำการหยิบลูกหมากที่อยู่ในหลุมถัดไปทั้งหมดขึ้นมา แล้วใช้ลูกหมากที่หยิบขึ้นมานั้น ในการเดินหลุมต่อไป ซึ่งจะวนไปเรื่อยๆ หลุมละ 1 ลูกจนกว่าลูกหมากจะไปจบที่ “หลุมว่าง” แล้วไม่มีลูกหมากให้หยิบต่อไปอีกแล้ว ก็ถือว่าตายและจะต้องหยุดเดิน เพื่อเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามได้เริ่มเดินจนกว่าเขาจะตาย ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

     3. การจบเกม เกิดขึ้นเมื่อลูกหมากที่ใช้ใส่ลงไปในหลุมสิ้นสุดที่หลุมใดแล้ว อีกด้านนึงไม่มีลูกหมากให้สำหรับเดินต่อ แต่ถ้าการตายเกิดขึ้นในฝ่ายของผู้ที่เดิน และหลุมที่ใส่หมากลูกสุดท้ายในฝ่ายของตรงกันข้ามมีหมากอยู่ในหลุมนั้น สามารถเอาหมากในหลุมนั้นใส่ในหลุมหัวเมืองของตนเอง ซึ่งการทำสลับไปสลับมาเช่นนี้จะทำไปจนกว่าไม่มีหมากเหลือในหลุมทั้ง 7 หลุมของฝ่ายเราและฝ่ายตรงข้าม ซึ่งจะไม่มีหมากไว้ใช้สำหรับเดินแล้วในแต่ละหลุม ก็คือจะเหลือหมากแค่เพียงในหลุมหัวเมืองเท่านั้น ซึ่งก็คือจะเหลืออยู่เพียงแค่ 2 หลุมฝ่ายเรา 1 หลุมและฝ่ายตรงข้ามอีก 1 หลุม

     4. ผู้ชนะนั้นจะต้องนับจากหมากในหลุมหัวเมืองที่มีมากที่สุดในหลุม เมื่อได้ผู้ชนะแล้วจึงจะสามารถเริ่มเกมใหม่ได้

Photo by Tobias Tullius on Unsplash

     กีฬาพื้นบ้านชนิดนี้ เป็นกีฬาที่นับวันจะสูญหายไป อาจจะเนื่องด้วยลูกหมากหรือวัสดุอื่นที่ค่อยๆ หายไปถึงแม้จะมีการใช้วัสดุอื่นแทนที่ใช้ลูกแก้ว ซึ่งสามารถหาได้ง่ายกว่าและทนทานมากกว่า ซึ่งการละเล่นชนิดนี้เป็นกีฬาที่สามารถเล่นได้ทุกช่วงเวลา และสามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย เป็นเกมที่เล่นเพื่อฝึกสมาธิในการใส่หมากในแต่ละหลุม เพราะในการที่จะเล่นเกมนี้วนไปซ้ำๆ อาจจะทำให้เกิดการใส่หมากผิดหลุมได้ ซึ่งเป็นตัวช่วยอย่างดีในการฝึกสมาธิ อีกทั้งยังเป็นการสานความสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่าย แม้นว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าและมีโทรศัพท์เข้ามาแทนที่กีฬาพื้นบ้าน แต่กีฬาหมากหลุมนั้นก็ยังเป็นกีฬาในดวงใจของใครหลายๆ คน


          *** อุปกรณ์ที่ใช้มีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ซึ่งกฏและกติกาการเล่นหมากหลุมจะคล้ายเดิม อาจจะมีการปรับเปลี่ยนที่จำนวนหลุมลดลงหรือเพิ่มขึ้น หรือ การเพิ่มหรือลดจำนวนของหมากในแต่ละหลุม เพื่อให้การเล่นสะดวกและสนุกได้ทุกสถานที่


ที่มาของข้อมูล : https://sport.trueid.net/detail/qzqBBrBOrQO7

ผลการเรียนรู้ครั้งที่16

 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่16

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

7 ตุลาคม 2564

     สมาชิกในกลุ่มได้มีการแบ่งหน้าที่ในการทำงานในแต่ละส่วนโดยทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet  โดยพูดคุยในรูปแบบของระบบและเล่มรายงาน เพื่อเก็บรายละเอียดของข้อมูลทั้งหมด ดังนี้  
                             1. ปกนอก ปกใน
                             2. บทคัดย่อ  กิตติกรรมประกาศ
                             3. สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ
                             4. บทที่ 1 บทนำ
                             5. บทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
                             6.  บทที่ 3 วิธีการศึกษา
                             7. บทที่ 4 ผลการศึกษา
                             8. บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ
                             9. เอกสารอ้างอิง
                             10. ภาคผนวก




ผลการเรียนรู้ครั้งที่15

 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่15

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

30 กันยายน 2564



     วันที่ 30 กันยายน 2564 ทางฝ่ายฝึกได้ขออนุญาติอาจารย์รายวิชาแต่ละท่านให้งดการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษานั้นได้สังเกตการสอนของโรงเรียน
    อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ได้ยกคลาสในสัปดาห์นี้พร้อมให้แต่กลุ่มของโครงงานทำงานกลุ่มให้คืบหน้าในครั้งนี้ทางกลุ่มเราได้มีนัดประชุมการทำงานโดยใช้ Google meet ในการประชุม


 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่14


ผลการเรียนรู้ครั้งที่14

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

23 กันยายน 2564

     ในวันนี้ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์ได้มอบหมายให้แต่ละกลุ่มทำโครงงานและระบบSMP ตามหน้าที่ของตัวเอง ซึ่งกลุ่มเราได้ร่วมกันทำในส่วนของระบบที่ตัวเองได้รับผิดชอบ





ผลการเรียนรู้ครั้งที่13

 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่13

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

16 กันยายน 2564

      ให้นักศึกษาทุกคนเข้าห้อง Google Meet เวลา 09.30 น. ซึ่งในวันนี้จะมีการนำเสนอความก้าวหน้าของโครงงานในบทที่ 2 และะบทที่ 3 รวมไปถึงระบบSMP




โดยแต่ละกลุ่มมีหัวข้อนำเสนอ ดังต่อไปนี้      

     กลุ่มที่ 7 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่องประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

     กลุ่มที่ 3 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัย วิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6

     กลุ่มที่ 5  เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4

     กลุ่มที่ 4 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง องค์ประกอบหลักการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2

     กลุ่มที่ 1  เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ รายวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 

     กลุ่มที่ 2 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

     กลุ่มที่ 6 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1