ผลการเรียนรู้ครั้งที่2

 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่2

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

กรกฎาคม 2564



      อาจารย์ได้จัดการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ zoom ในรายวิชา ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ในชั่วโมงเเรกอาจารย์ชี้แจงเกี่ยวกับคำอธิบายรายวิชา และกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้ 

คำอธิบายรายวิชา

  ทฤษฎีการออกแบบระบบการเรียนการสอนออนไลน์ การจัดการด้านหลักสูตร การเรียนรู้และการประเมินผล การเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ และ การเรียนรู้ร่วมกันบนระบบเครือข่าย ฝึกปฏิบัติออกแบบและสร้างบทเรียนออนไลน์โดยใช้โปรแกรม เช่น Moodle, Blackboard, Web CT และอื่นๆ

การวัดและประเมินผล

1. คะแนนระหว่างภาคเรียน 80 %

          1.1 ทดสอบหลังเรียนในระบบYRU E-learning  20 %

          1.2 งานมอบหมายรายบุคคล 10 %

          1.2 โครงงานพัฒนาบทเรียน E-learning 40 %

          1.3 จิตพิสัย 10 %

2. คะแนนสอบปลายภาคเรียน 20 %


เข้าสู่บทที่1 บทนำ โดยจะมีเนื้อหาและกิจกรรมดังนี้

     1.ความหมายของการเรียนการสอน



     2.ความหมายของการจัดการเรียนรู้



นักการศึกษาได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ ไว้ดังนี้

  • สุรางค์  โค้วตระกุล (2550:186)ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ว่า  หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์  ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด  รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียน
  • สุรางค์  โค้วตระกุล (2550:186)ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ว่า  หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์  ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด  รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียน
  • สิริอร  วิชชาวุธ (2554:2)  ได้กล่าวว่าการเรียนรู้มีองค์ประกอบ 3 อย่างคือ
    1. มนุษย์ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงจากไม่รู้ เป็นรู้  ทำไม่ได้ เป็นได้  ไม่เคยทำ เป็นทำ
    2. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างถาวร
    3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น  เกิดจากประสบการณ์การฝึกฝนและการฝึกหัด

จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวรของบุคคล  อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ในอดีต  ทั้งจากการฝึกฝน  การปฏิสัมพันธ์กับประสบการณ์รอบตัวและมีปริมาณองค์ความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น


     3.ทฤษฎีระบบการเรียนการสอน




     4.ตัวอย่างระบบการเรียนการสอน

1.ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
2.ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)
3.ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)
4.ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)
5.ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
6.ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
7.ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
8.ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)


     5.แนวโน้วระบบการเรียนรู้ออนไลน์

5.1 รูปแบบการเรียนที่ยืดหยุ่น (Flexible)

5.2 เลือกเรียนโปรแกรมหลากหลาย

5.3 การเข้าถึงเนื้อหาสะดวก

5.4 ผู้เรียนเลืกประสบการณ์การเรียนรู้

5.5 ประสิทธิภาพสูง


     6.ข้อดีของการจัดการเรียนรู้ออนไลน์


1.บริหารเวลาเรียนได้ตามความสะดวก
หลายคนอาจยังติดภาพการเรียนแบบเดิม ที่ต้องมีตารางวัน – เวลาเรียนตามที่สถาบันกำหนด แต่ด้วยความสะดวกของการเรียนออนไลน์คือ ทำให้น้องๆ แบ่งเวลา จัดสรรค์ตารางเรียนของตัวเองได้ตามความต้องการ เพียงแต่ต้องมีระเบียบวินัยตั้งใจเรียนจนจบก็พอ

2.วิกฤตไหนก็ไม่เป็นอุปสรรค
หากเรียนในห้องเรียน บางคนต้องเจอปัญหาตั้งแต่เริ่มออกเดินทางไปเรียน เช่น ตื่นเช้า รถติด หรือสถาบันไกลจากบ้าน ทำให้ต้องเสียเวลาและการเดินทางเพื่อไปเรียน แต่มันคงจะดีไม่น้อย หากน้องๆ ต้องเสียเวลาไปกับการเดินทางต่างๆ เพราะสามารถเรียนที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน บนรถ หรือแม้จะไปท่องเที่ยวที่อื่นๆ ก็ยังคงเรียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง

3.ทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลา
เมื่อน้องๆ เรียนจบแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจ ก็สามารถกลับมาทบทวนได้ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่มีจำกัดจำนวนครั้ง ซึ่งต่างจากการลงคอร์สเรียนสด หรือการเรียนผ่านวีดิโอในห้องเรียน ที่ต้องเรียนพร้อมกับเพื่อนหลายคนอาจรู้สึกไม่กล้าถามเมื่อเรียนตามไม่ทัน แต่การเรียนออนไลน์ น้องสามารถฟังย้อนกี่ครั้งก็ได้จนกว่าจะเข้าใจ หรือทบทวนบทเรียนทั้งหมดใหม่อีกครั้งได้เสมอ

4.มีหลักสูตรใหม่ๆ อัปเดตเสมอ
การเรียนออนไลน์ จะเป็นหลักสูตรที่พัฒนาอัปเดตอยู่เสมอ มีตัวอย่างที่ทันต่อยุคสมัยในปัจจุบัน และคอร์สเรียนที่หลากหลาย เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้องมีแรงจูงใจอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เสมอ

5.ประหยัดค่าใช้จ่าย
การเรียนออนไลน์ช่วยทำให้การเรียนง่ายและสะดวกขึ้น ขอแค่มีอินเทอร์เน็ตเข้าถึง ทำให้คุณสามารถเรียนได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมถึงไม่ต้องเสียเวลาทิ้งคอร์สไปฟรีๆ หากมีธุระสำคัญเข้ามาแทรกในช่วงระหว่างที่เรียนเหมือนการเรียนในห้องเรียน


     7.ข้อจำกัดของการเรียนรู้ออนไลน์

1.การสอนที่เป็นการสื่อสารทางเดียว มีโอกาสเกิดความผิดพลาดในการรับรู้ เพราะฉะนั้นต้องมีแบบทดสอบที่ประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน

2.การเข้าถึงอุปกรณ์เรียนออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์, โทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต หรือสัญญาณอินเทอร์เน็ตมีข้อจำกัด

3.เด็กนักเรียนไม่มีสมาธิในการเรียน หากให้ใช้มือถือ ก็จะแอบเอามือถือมาเล่นระหว่างเรียน

4.เด็กนักเรียนไม่สามารถไตร่ตรองความถูกต้องของข้อมูล จากการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ

5.เด็กนักเรียนใช้เวลาเสพออนไลน์มากเกินควร

6.ผู้ปกครองตอบคำถามหรือทำการบ้านแทนเด็ก

7.ผู้ปกครองไม่มีเวลาเฝ้าดูแลเด็ก เพราะต้องทำงาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น