ผลการเรียนรู้ครั้งที่4

 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่4

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

15 กรกฎาคม 2564

        กิจกรรมการเรียนออนไลน์ มีดังนี้ครับ เข้าเรียนในระบบอีเลิร์นนิ่ง (http://elearning.yru.ac.th) กิจกรรมดังนี้

1. กิจกรรมอภิปราย (Discuss) : แนวโน้มของการเรียนออนไลน์ ในบทที่ 1

2. ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) บทที่ 2


3.เตรียมเล่นกิจกรรม Kahoot ทบทวนเนื้อหาบทที่ 2

4. ให้นักศึกษาทุกคนเข้าห้อง Zoom Conference เวลา 9.00 น.
    



พร้อมเข้าสู่บทเรียนออนไลน์
      โดยในบทที่ 3 อีเลิร์นนิ่งและระบบจัดการ (E-Learning and LMS) 
สามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้
1. ความหมายของอีเลิร์นนิ่ง
     E-learning คือ การเรียนรู้ผ่านผ่านตัวกลางที่เป็นสื่อเทคโนโลยีหรือออนไลน์ ที่ช่วยลดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่เรียน ผู้สอนสามารถนำเสนอไอเดียการเรียนรู้ได้หลากหลายรูปแบบ และทางผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในเรื่องที่ตนเองต้องการ

2.ลักษณะของอีเลิร์นนิ่ง
    1. Anywhere, Anytime ซึ่งหมายถึง ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสะดวกของผู้เรียนทุกที่ทุกเวลา
    2. Multimedia หมายถึง มีการนำเสนอเนื้อหาโดยใช้ประโยชน์จากสื่อประสมเพื่อช่วยในการประมวลผลสารสนเทศของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความคงทนในการเรียนรู้
    3. Non-linear หมายถึง ไม่นำเสนอเนื้อหาในลักษณะที่เป็นเชิงเส้นตรง ก็คือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ตามความต้องการ จะต้องจัดการเชื่อมโยงที่ยืดหยุ่นแก่ผู้เรียน
    4. Interaction หมายถึง ควรมีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนโต้ตอบ หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหา หรือกับผู้อื่นได้ เพราะฉะนั้นควรมีการจัดกิจกรรมในเนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสโต้ตอบ
    5. Immediate Response หมายถึง ควรมีการออกแบบให้มีการทดสอบ วัดผลและการประเมินผล ที่ให้ผลป้อนกลับโดยทันทีแก่ผู้เรียน เช่น แบบทดสอบก่อนเรียน หรือแบบทดสอบหลังเรียน

3.ความสำคัญของอีเลิร์นนิ่ง
     1. สื่อประสม (Multimedia) ด้วยศักยภาพของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้สอนสามารถออกแบบการเรียนรู้ โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย ทั้งในรูปข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และภาพยนต์ ทำให้การนำเสนอมีความน่าสนใจ และสื่อความหมายได้ดีกว่าการใช้สื่อเดียวโดดๆ
     2. ระบบเปิด (Open System) อีเลิร์นนิงที่นำเสนอเนื้อหาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งความรู้ แหล่งข้อมูลที่หลากหลายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อาจารย์ผู้สอนสามารถออกแบบให้การค้นหาและเชื่อมโยงแหล่งความรู้เข้ามาที่บทเรียน เพื่อชี้นำแหล่งความรู้เพิ่มเติม ทันสมัย ให้กับผู้เรียนได้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านคุณภาพการเรียนรู้ มีแหล่งความรู้ให้ผู้เรียนหลากหลาย และประสิทธิภาพ ผู้สอนประหยัดเวลาในการเตรียม และข้อมูลทันสมัยเสมอ
     3. รองรับและเอื้อต่อปฏิสัมพันธ์ (Interaction) หลากหลายรูปแบบ ปฏิสัมพันธ์ในการเรียนจะช่วยเสริมให้เกิดความเข้าใจในขั้นสูงขึ้น การจำแนกระดับความรู้ ความเข้าใจ (Cognitive Domain) 6 ขั้นตามBenjamin S. Bloom2  โดยอีเลิร์นนิงจะรองรับและเอื้อต่อปฏิสัมพันธ์ที่หลากหลาย เช่น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับสื่อการเรียน (human-computer interaction) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน หรือ ระหว่างผู้เรียนกันเอง (human-human interaction)
     4. รองรับการสื่อสารทั้งแบบประสานเวลา (Synchronous Communication) และแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous Communication) คือการสื่อสารที่มีการโต้ตอบกันได้ในเวลาเดียวกัน และการสื่อสารที่ผู้ที่สื่อสารไม่ต้องนัดหมายกันเพื่อสื่อสาร ใช้วิธีการฝากสารไว้ในระบบและเมื่อคู่สื่อสารพร้อมก็จะมาตอบสารนั้น เช่น ระบบกระดานสนทนา (webboard)
     5. รองรับการจัดการเรียนการสอนทั้งแบบอาจารย์เป็นผู้นำการสอน (Human driven) หรือแบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้นำการสอน (Computer driven) เช่น การใช้บทเรียนเป็นสื่อเสริมการสอนของอาจารย์ในชั้นเรียน  หรือรายวิชาที่พัฒนาเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้งรายวิชา เป็นต้น
     6. เก็บเหตุการณ์การเรียนการสอน (Keep Log) กิจกรรมการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นเช่น คำถาม-คำตอบ ปฏิสัมพันธ์ รวมทั้งเหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะถูกจัดเก็บและบันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สามารถนำมาใช้เพื่อเป็นประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง เช่น ติดตามการเรียนของผู้เรียน  ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างการเรียน (formative evaluation) ประเมินรวบยอด (summative evaluatio

4.องค์ประกอบของระบบอีเลิร์นนิ่ง



สรุป 
     e-Learning อีเลิร์นนิ่ง หรือการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ บริหารจัดการโดยใช้ซอฟต์แวร์ LMS นิยมน ามาใช้ในสถาบันการศึกษาหรือองค์กร ทั้งการเรียนการสอนและการอบรมออนไลน์ ผสมผสานทั้งแบบ e-Learning และชั้นเรียนปกติ
     องค์ประกอบของระบบอีเลิร์นนิ่ง ที่ควรพิจารณาได้แก่ ด้านวิธีสอน ด้านเทคโนโลยี ด้านการออกแบบส่วนประสานกับผู้ใช้ด้านการประเมินผล ด้านการบริหารจัดการ ด้านทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ ด้านจริยธรรมและด้านการกำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น